วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีการพูด ให้มีเสน่ห์


คุณ ว่าไหม... เวลานี้ผู้คนและสังคมไทยต่างประสบปัญหาคนพูดจาไม่ดีต่อกัน และการพูดจาไม่ดี ก็มักมีปัญหาตามมาเยอะแยะเต็มไปหมด ทั้งความขุ่นข้องหมองใจ ความไม่เข้าใจ และนำไปสู่ความแตกแยก ไม่ร่วมมือ และไม่ให้เข้ากันได้ในที่สุด เพราะเหตุนี้เอง... เราจึงควรหันหน้าเข้าหากัน พูดจาดีๆ ต่อกัน จะได้ไม่มีปัญหา ว่าแล้ว เรามาเรียนรู้วิธีการพูดการจาให้เป็นสง่าราศีแก่ชีวิตดีกว่าค่ะ

 1. คนจะพูดดีได้ต้องเริ่มจากคิดดีก่อน
ไม่มีประโยชน์ที่เราจะเริ่มต้นจากการคิดร้าย แม้กับคนที่เราไม่ถูกชะตาด้วยที่สุด ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องพูดจาไม่ดีกับเขา การคิดดี ถือเป็นเรื่องพื้นฐานของมนุษย์ เป็นพื้นฐานของจิตใจที่ดีงาม ใครก็ตามที่รู้จักคิดดี เขาก็จะเห็นแง่งามของโลก ของชีวิต ของตนเอง และของผู้อื่น เมื่อเห็นแง่งามหรือแง่ดีของสิ่งต่างๆ เขาก็ย่อมมีทัศนคติที่ดี มีท่าทีที่ดี และเมื่อต้องพูดจาเสวนากัน เขาก็ย่อมพูดจาดี

"พูดดี" ในที่นี้หมายความว่า พูดเพราะ พูดคำสุภาพ มีน้ำเสียงที่สุภาพ มีหางเสียงครับ ค่ะ จ๊ะ จ้ะ เพื่อแสดงความมีมารยาท มีไมตรีจิต ไม่พูดคำหยาบ ไม่ใส่ร้าย ไม่ตะคอกตะเบ็งใส่กัน ไม่ประชดประชัน ไม่โกหกพกลม คนจะพูดดีเช่นนี้ได้จะคิดร้ายอยู่ในใจไม่ได้แน่นอน เพราะคว
ามร้ายกาจในใจจะเผยมาทางคำพูด น้ำเสียง แววตา หรือท่าทีขณะที่พูดได้ จึงจำเป็นต้องฝึกตนให้เป็นคนคิดดี

2. พูดถูกกาลเทศะ
ไม่ใช่ตลอดเวลาหรอกนะคะ ที่คนเราจะพูดได้ ต้องมีบ้างบางขณะที่เราควรหยุดพูด เพื่อเป็นผู้ฟังคนอื่นพูดบ้าง คนบางคนถูกตั้งข้อสังเกตว่า "ผีเจาะปากมาพูด" คือได้แต่พูด (พูดๆๆๆ) ฟังไม่เป็น ไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นพูด ทำตัวเป็นผู้รู้ไปหมดทุกเรื่อง จึงพูดอยู่ตลอดเวลา คนแบบนี้น่ารำคาญ... จริงไหม

อย่า ทำตัวน่ารำคาญด้วยการพูดจาไม่หยุดไม่หย่อน ไม่ดูวาระและโอกาส คนพูดเป็นจะรู้ว่าโอกาสไหนควรพูด โอกาสไหนควรฟัง และโอกาสไหนควรวางเฉย หลักการพูดให้ถูกกาลเทศะทำได้ง่ายๆ คือ ดูว่าเราต้องพูดในหัวข้อไหน เรื่องอะไร พูดที่ไหน ใครฟัง ผู้ฟังกี่คน ฟังกันในที่เปิดเผย หรือในห้องจำกัด พูดสั้นหรือพูดยาว จริงจัง หรือกันเอง ใครอ่านสถานการณ์ออกเตรียมตัวพร้อม ก็สามารถพูดจาได้น่าจดจำตามวาระและโอกาสนั้นๆ ได้เสมอ



3. พูดมีเนื้อหาสาระ
ห้ามพูดเรื่อยเปื่อย ไม่ว่าจะคุยกันกับเพื่อน ผู้ร่วมงาน พ่อแม่ หรือพูดในที่ประชุมหรือที่สาธารณะ ก็ต้องมีเป้าหมายในการพูด พูดอย่างมีสาระ มีขอบเขตชัดเจนว่าต้องการสื่อสารเรื่องอะไร หรือต้องการจะบอกกับผู้ฟังว่าอะไร

4. พูดจาให้น่าฟัง
น้ำ เสียงที่กังวานแจ่มใส ดังพอประมาณ พูดจาฉะฉานชัดเจน จะดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังได้มาก การพูดในบางครั้งต้องพูดปากเปล่า แต่บ่อยครั้งก็ต้องพูดผ่านไมโครโฟน หากมีโอกาสฝึกฝนเรื่องการใช้เสียงอย่างเหมาะสม ทั้งแบบปากเปล่าและผ่านไมโครโฟนได้ ก็ควรทำ เพราะการพูดผ่านไมโครโฟนนั้น ต้องมีระยะใกล้ไกลระหว่างปากกับไมโครโฟนที่พอเหมาะ เสียงจึงจะชัดเจน ไม่มีเสียงเสียดแทรกจนผู้ฟังรู้สึกไม่สบายหู หรือรำคาญ ในการพูดนั้น ควรมีการเน้นจังหวะและเว้นจังหวะ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ชวนติดตาม


 5. พูดให้เกิดความรู้สึกร่วม

วิธีการง่ายๆ คือ สบตากับผู้ฟังอย่างทั่วถึง ตั้งคำถามในขณะพูดแล้วค่อยๆ อธิบายเพื่อนำไปสู่คำตอบ สอบถามผู้ฟังบ้างในบางหัวข้อที่ง่ายๆ หรือเป็นเรื่องของประสบการณ์ เป็นเรื่องของความคิดเห็นที่ไม่ใช่เรื่อง ซึ่งเมื่อตอบแล้วอาจถูกหรือผิด ทั้งนี้ ผู้พูดจำเป็นต้องรู้พื้นภูมิของผู้ฟังบ้าง เพื่อพูดในภาษาที่เขาเข้าใจง่าย บางครั้งการพูดด้วยสำเนียงท้องถิ่นก็ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี รู้สึกเป็นกันเอง อย่าพูดไทยผสมกับภาษาต่างประเทศโดยไม่อธิบาย เลือกใช้ภาษาต่างประเทศเท่าที่จำเป็นเท่านั้น







ที่มา
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1658136






-->

-->

-->



10 วิธีคิดเพื่อฝึกตนให้กลายเป็นคนมีเสน่ห์

๑) ความคิดเป็นเส้นตรงไม่หมกมุ่นวุ่นวน คือมีเป้าหมายปลายทางของความคิดชัดเจน มีลำดับที่จะไปให้ถึงจุดหมายอย่างแน่ชัด หากคุณมีความคิดเช่นนี้ จะก่อให้เกิดเสน่ห์ชนิดเปล่งพลังชะโลมใจ คนที่สัมผัสจะเกิดความรู้สึกราบรื่น ไม่วกวน และอยู่ใกล้คุณนานๆอาจพลอยเกิดคลื่นความคิดเป็นระเบียบตามไปด้วย


๒) ความคิดที่เบากริบและเงียบเชียบ คือ คิดเท่าที่จำเป็น สามารถเว้นวรรคความคิดเพราะรู้จักเสพสุขกับสิ่งอื่น เช่น ภาพแมกไม้ เสียงน้ำตกหรือกระทั่งเฝ้าสังเกตสายลมหายใจตนเองเข้าออกอย่างเรียบง่าย หากคุณมีความคิดชนิดนี้ จะก่อให้เกิดเสน่ห์ชนิดเปล่งพลังชะโลมใจ คนที่สัมผัสจะเกิดความรู้สึกผ่อนคลายไม่อึดอัด อยู่ใกล้คุณอาจพลอยสงบผาสุกตามไปด้วยชั่วครู่ และหากคลุกคลีใกล้ชิดกับคุณนานพอ กลุ่มความคิดหนาแน่นของเขาอาจพลอยบางเบา กลายเป็นคนไม่คิดมากตามคุณไปด้วยอย่างถาวร


๓) ความคิดมองโลกในแง่ดี คือมีมุมมองของความหวังด้านบวกเสมอ จึงเชี่ยวชาญในการสร้างทางออก ขณะที่คนทั้งโลกเชี่ยงชาญในการพาตัวไปสู่ทางตัน หากคุณมีความคิดชนิดนี้จะก่อให้เกิดเสน่ห์ชนดเปล่งพลังชะโลมใจ คนที่สัมผัสจะเกิดความรู้สึกสว่างไสว ไม่มืดมน และอยู่ใกล้คุณนานๆ อาจพลอยเกิดแรงบันดาลใจและความหวังใหม่ๆตามไปด้วย


๔) ความคิดเผื่อแผ่พร้อมจะเสียสละ คือ มีความอยากให้มากกว่าอยากเอา สามารถเป็นผู้ริเริ่มในการให้ โดยไม่จำเป็นต้องคำนวณเสียก่อนว่าจะได้รับสิ่งใดเป็นผลตอบแทน หากคุณมีความคิดชนิดนี้ จะก่อให้เกิดเสน่ห์ชนิดเปล่งพลังชะโลมใจ คนที่สัมผัสจะเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เห็นคุณเป็นที่พึ่ง (ขอให้ทราบว่าความเป็นที่พึ่งกับความเป็นคนรับใช้นั้นต่างกันนิดเดียว ระหว่างให้แบบใจอ่อนยินยอมไปหมด กับให้แบบใจดีมีความน่าเกรงใจ ศิลปของการให้อย่างหลังจะมีเสน่ห์ ขณะที่การให้อย่างแรกจะดูไร้ค่าหรือถึงขนาดน่ารังแก)


๕) ความมีใจเอ็นดูไม่คิดประทุษร้าย คือไม่แม้แต่จะแอบด่า แอบสาปแช่งคนหรือสัตว์ที่ตนเกลียด แต่มีเหตุผลบอกตนเองเสมอว่าทำไมจึงควรให้อภัย เห็นกระจ่างที่มาที่ไปอันน่าเห็นใจของคนแสนเลวสักคน หากคุณมีความคิดชนดนี้ จะก่อให้เกิดเสน่ห์ชนิดเปล่งพลังชะโลมใจ คนที่สัมผัสจะเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่หวาดระแวง และบังเกิดความปรารถนาดีต่อคุณ หากเกลียดหรือคิดทำร้ายคุณได้แปลว่าต้องมีใจพาลสันดานหยาบเอาเรื่องทีเดียว


๖) ความคิดมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวไม่ท้อแท้ คือแม้พบอุปสรรคก็ไม่แสดงความอ่อนแอให้เห็น เพราะคิดหาทางรุกคืบไปข้างหน้าเข้าหาเส้นชัยหรือทางออกจากปัญหา ทำอะไรทำจริง พูดอะไรแล้วทำอย่างที่พูด ตั้งใจอะไรแล้วไม่ล้มเลิกง่ายๆ หากคุณมีความคิดชนิดนี้ จะก่อให้เกิดเสน่ห์ชนิดเปล่งพลังประทับใจ คนที่สัมผัสจะเกิดความรู้สึกถึงพละกำลัง ความเข้มแข็งไม่อ่อนแอ ความคมคายไม่ทื่อมะลื่อ เต็มไปด้วยความก้าวหน้าพัฒนาสู่ความสำเร็จลุล่วง


๗) ความคิดยับยั้งชั่งใจ คือแม้พบสิ่งยั่วยุให้ละโมบโลภมาก ก็ระงับความทยานอยากเสียได้หากเห็นว่าไม่ถูกไม่ชอบ หรือแม้พบสิ่งยั่วยุให้พยาบาทอาฆาตแค้น ก็ระงับความหุนหันพลันแล่นอยากโต้ตอบด้วยความรุนแรงเสียได้ หากคุณมีความคิดชนิดนี้ จะก่อให้เกิดเสน่ห์ชนิดเปล่งพลังประทับใจ คนที่สัมผัสจะเกิดความรู้สึกถึงขันติ ความอดทนทางใจ


๘) ความคิดไม่เข้าข้างตัวเอง คือไม่หลงตัว ไม่ปกป้องตัวเอง เป็นคนดีจริงด้วยการรู้ตัวว่ายังมีจุดบอดหรือข้อเสียอันใดอยู่บ้าง ไม่ใช่ดีจริงด้วยการประกาศว่าข้าดีพร้อม ข้าทำอะไรไม่ผิดสักอย่าง ไม่คิดเข้าข้างตัวเอง แม้ผิดพลาดทำชั่วบ้าง ก็มีระดับมโนธรรมสูงพอจะสำนึกผิดได้ด้วยตนเอง หากคุณมีความคิดชนิดนี้ จะก่อให้เกิดเสน่ห์ชนิดเปล่งพลังประทับใจ คนที่สัมผัสจะเกิดความรู้สึกถึงสำนึกอันดีงามของมนุษย์ กระแสความสำนึกผิดและการรับผิดชอบอย่างอาจหาญจะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น กล้าที่จะสำนึกผิด แล้วก็ต้องไม่ขัดแย้งกับตนเอง ไม่ต้องเกลียดตนเองด้วยกำแพงปกป้องตนเองอันน่ารังเกียจ


๙) ความคิดที่รื่นรมย์เบาสมอง คือความสามารถมองแง่ร้ายให้กลายเป็นตลกได้ หากคุณมีความคิดชนิดนี้ จะก่อให้เกิดเสน่ห์ชนิดเปล่งพลังดึงดูดใจ คนที่สัมผัสจะเกิดความรู้สึกพร้อมจะมีอารมณ์ขัน นึกสนุก ไม่เคร่งเครียด เต็มไปด้วยรื่นเริงบันเทิงใจตามไปด้วย


๑๐) ความคิดแบบผู้ชนะที่มีน้ำใจนักกีฬาและความปราณี ไม่มีใครอยากยืนอยู่ข้างคนแพ้ ในขณะเดียวกันก็ไม่มีใครอยากอยู่ใต้อำนาจคนชนะที่เหลิงหลงและหมิ่นศักดิ์ศรี ผู้อื่น ผู้ชนะอาจอยู่ในเกมกีฬา เกมธุรกิจ ตลอดจนกระทั่งเกมกิเลส คือถ้าเอาชนะกิเลสยากๆของตนเองได้ก็จัดเป็นผู้ชนะได้เหมือนกัน และเป็นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ด้วย หากคุณมีความคิดชนิดนี้ จะก่อให้เกิดเสน่ห์ชนิดเปล่งพลังดึงดูดใจ คนที่สัมผัสจะเกิดความรู้สึกหลงใหลมนต์เสน่ห์อันโดดเด่นจับตาจับใจได้ง่าย


วิธีคิดแบบอันเป็นตรงข้าม กับที่กล่าวมาข้างต้น จะบั่นทอนเสน่ห์ลง กล่าวคือกระแสความคิดจะเป็นแบบผลักไสให้ออกห่าง (ตรงข้ามกับพลังดึงดูดใจ) หรือแบบไม่ประทับลงในความทรงจำ (ตรงข้ามกับพลังประทับใจ) หรือแบบระคายเคือง (ตรงข้ามกับพลังชะโลมใจ) เช่นต่อให้มีเสน่ห์ทางกายและเสน่ห์ทางวาจา แต่ถ้าคิดฟุ้งซ่านมากๆเป็นนิตย์ ก็จะก่อคลื่นรบกวนคนใกล้ชิดให้ปั่นป่วนตาม อึดอัดที่จะต้องอยู่ใกล้ชิดนานๆ เป็นต้น



ที่มา
http://www.tangboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5359926
http://board.palungjit.com/


-->

-->

-->

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เสน่ห์ทางใจ


เป็นเสน่ห์ชนิดที่ มีพลังชะโลมได้มากกว่าอย่างอื่นเช่นแค่เข้าใกล้รัศมีใครบางคนคุณก็รู้สึก เยือกเย็น หรือกระทั่งเกิดความเงียบสงัดไร้ความคิดขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม กระแสจิตของบางคนอาจเปี่ยมด้วยอิทธิพลแห่งพลังดึงดูดและพลังประทับได้ยิ่ง กว่าเสน่ห์ทางกายกับวาจารวมกันเสียอีก หากคุณเคยมีประสบการณ์ผ่านพบใครบางคน ที่คุณอยู่ใกล้ๆแล้วเกิดความอยากอยู่ใกล้ เมื่อห่างไปก็ถวิลถึง แม้รูปร่างหน้าตาของเขาไม่จัดว่าเลอเลิศ กับทั้งถ้อยทีเจรจาก็งั้นๆ นั่นแหละครับตัวอย่างของคนมีเสน่ห์ทางกระแสจิตขั้นรุนแรง


เสน่ห์ทางกระแสจิตนั้น เป็นสิ่งเห็นไม่ได้ด้วยตา จับต้องไม่ได้ด้วยมือ ทว่าง่ายที่จะสัมผัสด้วยใจ และแม้คุณพบเจอจังๆอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทว่าในเมื่อไม่เคยมีใครขอให้คุณอธิบาย คุณเลยไม่เคยฝึกจำแนกแยกแยะว่ากระแสจิตมีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีพลังเสน่ห์จับใจได้แตกต่างกันสักแค่ไหน


จิตมนุษย์ที่กระจายออกมา ให้สัมผัสได้นั้น มีกระแสพลังจากแหล่งต่างๆได้หลายหลาก อาทิเช่น พลังความคิด พลังจากมหากุศลที่ประกอบแล้ว พลังความสว่างทางปัญญาที่รู้ชอบในธรรมะ พลังสุขภาพ พลังของหน้าที่ พลังอิทธิพลของหมู่คน พลังที่อยู่อาศัย พลังของพาหนะส่วนตัว พลังของอัญมณี พลังของสัตว์ที่ผูกพันเหนียวแน่น พลังไสยศาสตร์ ตลอดไปจนกระทั่งพลังของเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกันในทางใดทาง หนึ่ง โดยย่นย่อกระแสจิตจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับวิธีมีตัวตนของแต่ละคน


ชนิดของเสน่ห์ทางกระแสจิตอย่างละเอียดเป็นหนังสือเล่นหนึ่งได้โดยเฉพาะ แต่ในที่จำกัดนี้คงกล่าวเพียงสังเขปในแง่ "วิธีคิดอันเป็นตอเสน่ห์ทางกระแสจิต" เพราะเสน่ห์ทางกระแสจิตของมนุษย์ธรรมดาจะเป็นไปตามวิธีคิด สายความคิดของมนุษย์ทั่งไปจะไม่ค่อยขาดสาย จึงปรุงแต่งให้จิตเป็นไปต่างๆนานาได้มากกว่าปัจจัยอื่น


ที่มา
http://www.tangboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5359926
http://board.palungjit.com/














เสน่ห์ทางวาจา

เป็นเสน่ห์ที่มีพลังฝ่าย ประทับมากกว่าอย่างอื่น เช่นฟังใครพูดแล้วติดหูมิรู้ลืม ราวกับพลังเสียงและสำเนียงพูดบุกรุกเข้ามาฝังตัวและกลอกกลิ้งอยู่ในแก้วหูคน ฟังได้


เสน่ห์ทางวาจาจะแผลงฤทธิ์ เต็มที่ต่อเมื่อผู้พูดมีโอกาสฉายไม้เด็ดสักประโยคสองประโยค การโอภาปราศรัยทักทายเพียงคำสองคำอาจจะยังไม่ได้ผลนัก แต่หากได้ช่องสำแดงเดชเต็มกำลัง เสน่ห์ทางวาจาก็อาจจชวนให้หวนคิดถึงได้ยิ่งกว่าเสน่ห์ทางกายมาก เนื่องจากความทรงจำเกี่ยวกับส่ำเสียงและถ้อยคำจะยืนยาวกว่าความทรงจำเกี่ยว กับรูปลักษณ์


เสน่ห์ทางวาจาที่หยิบยกมา เป็นตัวอย่างเห็นภาพง่ายที่สุดคงได้แก่วิธีรบเร้าหรือวิธีตื้อของแต่ละคน บางคนตื้อแล้วน่ารัก แต่หลายคนตื้อแล้วน่ารำคาญ ทั้งที่ก็เป็นการรบกวนผู้ฟังเหมือนๆกัน นี่ก็เพราะบางคนเท่านั้นที่มีพลังเสน่ห์ทางวาจา ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่มี


เสน่ห์ทางวาจามีองค์ ประกอบหลายส่วน ซึ่งแต่ละส่วนก็เกิดจากกรรมเกี่ยวกับวาจาทั้งในอดีตและปัจจุบันรวมกันทั้ง สิ้น องค์ประกอบหลักของเสน่ห์ทางวาจาจำแนกได้เป็น ๓ ส่วนดังนี้


๑) ความไพเราะของแก้วเสียง เกิดขึ้นจากความเป็นผู้มีวาจาสุจริตทั้งพูดเรื่องจริงเท่าที่ควรพูด เลือกคำที่ฟังรื่นหูไม่หยาบคาย หาวิธีพูดประนีประนอมไม่เสียดสีใคร ตลอดจนครองสติในการพูดเพื่อประโยชน์ได้เสมอ องค์ประกอบหลักเหล่านี้จะปรุงแต่งแก้วเสียงให้ฟังดี ฟังเย็นและฟังมีพลังสะกด ถ้ายิ่งหมั่นสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ ตลอดจนเปล่งเสียงประกาศธรรมอันชอบโดยไม่เคอะเขิน


๒) ลูกเล่นในการจำนรรจา เกิด ขึ้นจากความเป็นผู้ใส่ใจเจรจาให้น่าเอ็นดู เป็นที่ถูกใจ ทำความบันเทิงสดใสแก่ผู้ฟัง ยกตัวอย่างเช่นพวกชอบเล่านิทานให้เด็กฟัง ด้วยความหวังว่าเด็กจะได้สนุกสนาน ได้ข้อคิด และได้มองโลกในแง่ดีมีความอบอุ่น กรรมอันเกิดจากการฝึกเล่านิทานจริงจังจะบันดาลให้เกิดสัญชาติญาณในการมัดใจ ด้วยลีลาพูด คือรู้เองว่าด้วยลูกเล่นการออกเสียงสั้นยาว ลงเสียงหนักเบา ตลอดจนควบกล้ำอย่างไรให้ฟังน่ารักน่าใคร่ ชัดถ้อยชัดคำ พวกนี้ถ้าทำงานพากย์จะประสบความสำเร็จง่ายมาก และอาจจะไม่ต้องร่ำเรียนที่ไหนก็เก่งได้ยิ่งกว่ามืออาชีพที่คร่ำหวอดมานมนาน


๓) ความฉลาดเลือกคำ เกิดขึ้นจากความเป็นผู้คิดก่อนพูด ใช้สติในการง้างปากที่อ้ายาก ไม่ใช่ปล่อยให้อารมณ์บงการปากที่ไร้หูรูด ธรรมชาติของสตินั้น ยิ่งฝึกฝนให้เพิ่มมากขึ้นเท่าใด ปัญญาก็ยิ่งทวีขึ้นเท่านั้น


คนที่ไม่ค่อยใส่ใจกับการ พูดนั้น นอกจากจะขาดเสน่ห์ทางวาจาแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดข้อน่ารังเกียจได้มากมาย เช่นคนพูดส่อเสียดและใส่ไคล้ผู้อื่นบ่อยๆ มักมีกลิ่นปากเหม็นเน่า คนติดพูดคำหยาบคายกระโชกโฮกฮากมักมีสำเนียงเสียงไม่รื่นหูไม่ชวนฟังเป็นต้น


ที่มา
http://www.tangboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5359926
http://board.palungjit.com/










เสน่ห์ทางกาย



เป็น เสน่ห์ที่เน้นพลังฝ่ายดึงดูดมากกว่าอย่างอื่น เช่นเห็นแล้วดึงดูดให้อยากมองนานๆยากจะถอนสายตา หรือกระทั่งอยากถลาเข้าไปลองสัมผัสให้ได้เดี๋ยวนั้น

เสน่ห์ทางกายปรากฏเด่น เห็นง่ายสุด จับต้องได้ง่ายสุด เพราะกายมนุษย์เปล่งประกายเสน่ห์ได้ผ่านความสมส่วนแห่งรูปพรรณสัณฐาน ตลอดจนความผ่องใสมีสง่าราศีแห่งผิวพรรณ ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาหรือพิธีรีตองใดๆ ในการเปล่งประกายเสน่ห์ชนิดนี้ แค่ปรากฏตัวก็ใช้ได้แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมี

ความเปล่งปลั่งชนิดบาดตา ได้ตั้งแต่แรกพบนั้น เป็นผลอันเกิดจากการให้ทานที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ไม่มีความขัดข้องทางใจเท่ายองใย โอกาสถวายทานแด่พระพุทธเจ้าหรืออริยสงฆ์สาวก แล้วรักษาความเลื่อมใสนั้นไว้ได้ตลอดชีวิต ก็จะมีความรุ่งเรืองปรากฏชัดทางผิวหนังตั้งแต่ชาติแห่งทานนั้น แล้วปรากฏชัดเจนในชาติถัดมา ไม่ว่าจะเป็นเทพหรือมนุษย์

ความสมส่วนแห่งรูปพรรณ สัณฐานจะเกิดจากความมีศีลสะอาดเป็นหลัก รายละเอียดและมิติของรูปร่างหน้าตาที่ล่อตาชวนตะลึง กลิ่นกายที่น่าพิสมัย ตลอดจนความละเอียดน่าสัมผัสของผิวหนังที่เหมาะกับเพศนั้น บันดาลขึ้นจากความสามารถในการ 'งดเว้น' ความประพฤติทางกายและวาจาอันสกปรกเน่าเหม็นจนเคยชิน แม้กระทั่งความคิดก็ไม่หลุดออกนอกกรอบของศีล พูดง่ายๆว่าเป็นผู้เคยมีศีลอันมั่นคงแข็งแรง จิตสะอาดสะอ้านจากมลทินยิ่ง จึงบันดาลให้
เกิดผลงดงามไร้ที่ติ กระทบตาผู้คนแล้วชวนหลงใหลยิ่ง

คนที่ไม่ค่อยทำบุญกับ บุคคลศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ่อยๆมักมีอำนาจเสน่ห์ทางกายน้อย เนื่องจากโอกาสที่จิตจะเปล่งประกายความเลื่อมใสอย่างแรงกล้าขณะทำบุญนั้นยากนัก





ที่มา
http://www.tangboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5359926
http://board.palungjit.com





-->

-->

-->

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

9 ประการของคนมีเสน่ห์


ด้วยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ต้องการเป็นที่รักเป็นที่ชื่นชอบของคนอื่น ๆ ไม่มีใครอยากเป็นที่เกลียดชังของคนโดยทั่วไป
ดังนั้นขอแนะนำวิธีปฏิบัติตนให้เป็นที่มีเสน่ห์ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 9 ประการ คือ
ตามที่ได้มาจาก"ข่าวสารกรมสุภาพจิต"
9 ประการกับการเริ่มต้นเป็นคนมีเสน่ห์คงทำให้หลาย ๆท่าน
พัฒนาตนเองให้มีเสน่ห์ได้ เป็นที่รัก เป็นที่ชื่นชอบของใคร ๆ
บางท่านอาจะเป็นคนที่มีเสน่ห์อยู่แล้วจะได้มีเสน่ห์ยิ่งขึ้น ลองนำไปปรับใช้กับตนเองนะค่ะ...

1 มีความคิดที่จะ"ให้" มากกว่าความคิดที่จะรับ "รับ" โดยทั่วไปมักมีคนคิดว่าหรือถูกถามว่า หากช่วยเขาแล้วจะได้รับอะไร หากทำอย่างนั้นอย่างนี้แล้วจะได้อะไร การคิดถึงแต่จะได้ ในทางกลับกันลองคิดที่จะให้กันดีกว่าและต้องคิดโดยไม่หวังผลตอบแทน แม้ว่าได้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ก็จะได้รับผลจากการให้มากมาย การให้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเงินทองเสมอไป แต่จะเป็นการให้อภัย ให้ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ ให้คำแนะนำ ให้โอกาส ให้ความรักความเมตตา เป็นต้น ซึ่งการให้ในบางครั้งต้องลงทุนลงแรงหรือต้องเหน็ดเหนื่อยกายและใจบ้าง แต่เมื่อได้พักผ่อนหรือนอนหลับก็หายได้เช่นกัน และการให้ที่ดีควรถือหลักที่ว่า คนอื่นพอใจแต่ตนเองไม่เดือดร้อน

2 มีความจริงใจ ฝึกตนเองให้เป็นคนมีความจริงใจ ไม่เสแสร้ง ไม่ซ่อนเร้นด้วยผลประโยชน์หรือประสงค์ร้าย เพราะความไม่จริงใจจะปรากฎหรือพิสูจน์ได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง

3 อย่าเป็นคนอิจฉา ตาร้อน หากคิดจะอิจฉา ต้องมีการพัฒนาตนเองให้ดีเท่าเขาหรือคนอื่น ไม่ใช้วิธีการแบบไม่คิดโดยการนินทาว่าร้าย หรือพูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง อันส่งผลให้คนอื่นได้รับความเสียหายทั้งทางกายและทางจิตใจ

4 ฝึกชื่นชมกับความสำเร็จของผู้อื่นด้วยความจริงใจและต้องบอกกล่าวให้เขารับทราบ

5 เข้าใจในความแตกต่างของคน เข้าใจอุปนิสัย ภูมิหลัง ปมด้อย เป็นต้น หรือคิดง่าย ๆคือ เข้าใจในความเป็นตัวตนของคนอื่น

6 มีความคิดในเชิงบวกหรือด้านดี ตลอดจนแก้ปัญหาด้วยมุมมอง หรือมองรอบด้าน

7 รับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำงานอย่างเต็มความสามารถด้วยวิริยะอุตสาหะและขันอาสาทำงาน หรือขันอาสาให้ความช่วยเหลือ

8 กล่าวทักทาย ยิ้มแย้ม สุภาพ อ่อนโยน ถ่อมตน และให้เกียรติผู้อื่น

9 มีบคุลิกภาพดี ซึ่งหมายถึง มีรูปร่างดี หน้าสะอาด การแต่งกายถูกกาลเทศะ มีกิริยาท่าทางดี พูดจาไพเราะ ควบคุมอารมณ์ตนเองได้

ที่มา http://www.baanmaha.com/community/thread5829.html








พหุปัญญา

       
       โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาและนักการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ศึกษาศักยภาพและความถนัดของคนแล้วจำแนกปัญญาด้านต่างๆของมนุษย์ออกเป็น 8 ด้านตามทฤษฎีพหุปัญญา ดังนี้

ปัญญาด้านภาพและมิติ
          ความสามารถในการรับรู้ภาพและมิติต่างๆ มีความโน้มเอียงที่จะคิดในลักษณะที่เป็นภาพ มีความประสงค์ที่จะสร้างสรรค์ภาพที่ชัดเจนของสิ่งใดๆขึ้นในใจเพื่อให้สามารถคงความทรงจำในสาระข้อมูลของภาพนั้นไว้ ชอบที่จะดูภาพแผนที่ แผนภูมิ ภาพ วีดิทัศน์ และภาพยนตร์ บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ นักเดินเรือ นักบิน ประติมากร ศิลปิน นักวาดภาพ สถาปนิก
ด้านคำศัพท์และภาษา
 มีความสามารถในการใช้คำศัพท์และภาษา มีพัฒนาการที่เกี่ยวกับทักษะทางด้านเสียง มักจะเป็นนักพูดที่มีชื่อเสียง คนกลุ่มนี้จะคิดเป็นคำมากกว่าที่จะคิดเป็นภาพ บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ กวี นักเขียน นักพูด นักโต้วาที
ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
มีความสามารถในการใช้เหตุผล ตรรกะและจำนวน การคิดจะเป็นไปโดยใช้แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวกับเหตุผลและรูปแบบทางด้านตัวเลข สามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลหลายๆด้าน ชอบถามคำถามและชอบการค้นคว้าทดลอง บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักคิด นักสถิติ

ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
มีความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหวร่างกาย สามารถควบคุมการใช้งานสิ่งต่างๆอย่างมีความชำนิ ชำนาญ แสดงออกด้วยการเคลื่อนไหว มีประสาทสัมผัสที่ดีในเรื่องการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ นักเต้นรำ ศัลยแพทย์ นักประดิษฐ์ นักกีฬา


ด้านดนตรี
มีความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรี มีความพึงพอใจในเรื่องของดนตรี คิดเป็นเสียงและคิดเป็นจังหวะ มีการตอบสนองต่อดนตรีและมีความไวต่อเสียงต่างๆในสภาพแวดล้อม บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ นักดนตรี นักแต่งเพลง วาทยากร

ด้านตัวตนตนเอง
มีความสามารถในการสะท้อนแนวคิดที่เกี่ยวกับตนเองและสามารถตระหนักรู้ในสภาวะภายในจิตใจของตน พยายามทำความเข้าใจในเรื่องของความรู้สึกภายใน ความฝัน ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ รู้ถึงจุดเด่นและจุดด้อย บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ นักจิตวิทยา ผู้นำทางศาสนา นักปรัชญา

ด้านมนุษยสัมพันธ์
มีความสามารถในการสร้างสัมพันธ์และการทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นๆ พยายามพิจารณาสิ่งต่างๆในมุมมองของคนอื่นเพื่อให้เข้าใจว่า คนอื่นๆคิดและรู้สึกอย่างไร เป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดการกับเรื่องต่างๆและพยายามที่จะดำรงสันติภาพของกลุ่มไว้ให้ได้ กระตุ้นส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ ครู นักสังคมสงเคราะห์ นักแสดง นักการเมือง พนักงานขายของ

              โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) จำแนกความฉลาดทางความคิดออกได้อย่างน้อยแปดวิถีทาง ผู้เรียนที่มีความฉลาดทางด้านใดด้านหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งมีแนวโน้มที่จะแสดงความชอบต่อการเรียนรู้ในวิถีทางนั้นหรือวิถีทางเหล่านั้น นั่นคือบุคคลมีรูปแบบหรือวิธีการในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีทางในการคิดอย่างชาญฉลาดของตน บุคลิกลักษณะที่แสดงออกและลักษณะจำเพาะของแต่ละวิถีทางในการคิดอย่างชาญฉลาด










คนมีเสน่ห์

          บุคลิกภาพที่ดี คิดเป็น ทำเป็น มีจิตใจร่างกายที่เข้มแข็ง มีความเชื่อมั่น มีความน่าเชื่อถือ และมีเครือข่ายทางความคิด และ เครือข่ายในการทำงาน มีวิสัยทัศน์ มีการวางแผนเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ มีทักษะในการทำงาน และต้องมีความอดทน
         
          บุคลิกภาพ จะสะท้อนความเป็นตัวตนของบุคคลนั้น และเป็นสิ่งแรกที่ผู้อื่นประเมินความน่าเชื่อถือของบุคคลนั้นเมื่อแรกเห็น หรือ เมื่อได้อยู่ร่วมกัน ผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี จะวางตัวได้เหมาะสมในสังคม บุคคลใดได้อยู่ใกล้จะสบายใจมีความสุข เพราะเป็นผู้ที่น่าคบหาและให้เกียรติผู้อื่น ข้าพเจ้าจึงมองว่าการเป็นผู้มีบุคลิกดีเป็นคนที่มีเสน่ห์ ทำอย่างไรจึงจะเป็น คนมีเสน่ห์ การแต่งกายที่เหมาะสมกับช่วงเวลา และสถานที่ ที่เรียกว่ากาลเทศะ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนธรรมดา กลายเป็นคนมีเสน่ห์ กล่าวว่า

          คนมีเสน่ห์ ต้องเป็นผู้ที่ มีมาดต้องตา วาจาต้องใจ ภายในต้องเยี่ยม และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ มาดต้องตานั้นมีส่วนทำให้เกิดเสน่ห์ทางตา ถึง 83% (ส่วนวาจาต้องใจ คือ ฟังด้วยหูแล้วเกิดเสน่ห์ เพียง 11% เท่านั้น)

     มาดต้องตา มีดังนี้
1.   ร่าเริงอยู่เสมอ การยิ้มแย้ม แจ่มใสกับผู้คนทำด้วยความจริงใจ ออกมาจากใจ
2.
  ยกมือไหว้ด้วยความนอบน้อม ลักษณะที่งดงาม สบตาทุกครั้งที่ไหว้ ศีรษะค้อม
      มือชิดอก และใจเคารพ

3.
   อ่อนน้อมถ่อมตนกับทุกคน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่แสดงอำนาจ วางท่าเย่อหยิ่ง   
      เหนือผู้อื่น

4.
 เมื่อพบหรือที่รู้จักกันแล้ว ในครั้งแรกก็ตาม ควรแสดงความกระตือรือร้น ยินดีที่
    ได้พบ ที่ได้รู้จักกัน

5.
 คนมีเสน่ห์ ไม่รู้สึกเสียเกียรติ ที่จะกล่าวคำขอโทษ หรือ ขอบคุณใครก็ตาม ตั้งแต่คนงาน
     คนรถ คนใช้ไปถึงระดับผู้ใหญ่ที่มีเกียรติ

6.
 คนมีเสน่ห์ จะมีความสง่างาม รู้จักวางตัวเหมาะสมไม่เคลื่อนไหวช้าเกินไป ไม่เร็วจน
     เกินไป เมื่อเล่นก็เล่น เมื่อทำงานก็ทำงาน

7. 
การแต่งกายให้ถูกกับกาลเทศะ ตามสภาพของงานที่จะไป และสังคมสิ่งแวดล้อมที่กำลังมี
    งานอยู่

8.
 ในงานพิธีต่างๆ เมื่อได้รับเชิญให้ลุกขึ้นยืนปรากฏตัวขึ้นต่อหน้าชุมชน ควรจะกลัดกระดุม
     ให้เรียบร้อยทุกๆ เม็ด รวมทั้งสูทด้วย

9.
  คนมีเสน่ห์ เมื่อไปงานพิธีใหญ่ ต้องแต่งกายรัดกุม ถูกกาลเทศะไม่นำสำภาระ ไปมาก
     จนเกินไป เช่น   โทรศัพท์มือถือ หรือ สะพายกล้องรุงรัง


วาจาต้องใจ มีดังนี้1.   คนมีเสน่ห์ เมื่อพูดกับใคร หรือมีใครพูดด้วยต้องให้ความสนใจผู้พูด และฟังตั้งแต่ต้นจนจบ
      แม้เรื่องนั้นเราจะเคยฟังมาหลายครั้งแล้วก็ตาม

2.    
คนมีเสน่ห์จะพูดในสิ่งที่คนฟังอยากฟัง จะไม่พูดในสิ่งที่ตนเองอยากพูด โดยพยายามถาม  
       ตนเองทุกครั้ง ก่อนจะพูดว่าควรจะพูดออกไปไหม

3.
  พยายามพูดในภาษาของคนฟัง ไม่ใช่พยายามพูดในภาษาของคนพูด เพราะเมื่อพูดแล้วคนฟัง
      น่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ

4.    คนมีเสน่ห์ จะไม่พูดโอ้อวดจนเกินงาม อย่าถือว่าตนเองเก่งคนเดียว เป็น
 5.  
หลีกเลี่ยงในการวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นว่าไม่ดี หรือว่าตนเองดีอยู่คน เดียวจะเป็นการสร้าง
      ศัตรู

6.   
คนมีเสน่ห์จะไม่พูดถึงความลำบาก หรือ ความทุกข์ของตนเอง ให้คนอื่นฟัง
     โดยเฉพาะปัญหาหนักอกหนักใจ นอกจากคนอื่นจะช่วยไม่ได้แล้ว อาจจะนึกดูถูกด้วยซ้ำ
7.  คนมีเสน่ห์จะไม่พูดถึงความร่ำรวย ของตนเอง เพราะความร่ำรวยที่ผู้พูดพูดออกไปไม่ได้ก่อ
     ประโยชน์ให้กับผู้ฟัง
8.
   คนมีเสน่ห์ จะไม่พูดถึงความเลวร้าย ความไม่ดีของคนในครอบครัว ลูก และภรรยา ยกเว้น
      จะถูกคะยั้นคะยอเท่านั้น

9.
   คนมีเสน่ห์จะเป็นคนมีอารมณ์ขัน มีศิลปะในการเล่าเรื่องตลกบ้างเป็นครั้งคราว มีอารมณ์
      ขันสร้างบรรยากาศ ให้ครื้นเครงตามแต่กาลเทศะ แต่ไม่พร่ำเพรื่อจนกลายเป็นตัวตลกไป

10.   คนมีเสน่ห์จะ ไม่แสดงความรังเกียจ จนออกนอกหน้าเมื่อได้ยินเรื่องที่ไม่ถูกต้อง


ภายในต้องเยี่ยม มีดังนี้
1.    คนมีเสน่ห์ต้องมีน้ำใจ เอื้ออาทรต่อคนรอบข้าง "เงินยิ่งใช้ยิ่งหมด แต่น้ำใจยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม"
       ควรมีน้ำใจในเป็นทุกเรื่อง

2.    คนมีเสน่ห์ย่อมทำตัวเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ เพราะว่าผู้ให้ย่อมมีความสุขมากกว่า
3.
   เป็นคนมีความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี สังคมเคารพยกย่อง คนที่มีความ
      กตัญญูต่อพ่อแม่ และ ผู้มีพระคุณมาก ย่อมเป็นที่ยอมรับ

4.
   คนมีเสน่ห์ ย่อมมีความเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ว่าตกทุกข์ได้ยาก ตกงาน ว่างงาน หรือ
       จะร่ำรวยมีฐานะดีก็ตาม

5.    
คนมีเสน่ห์จะเอาหลักศาสนาที่ตนนับถือ มาเป็นหลักปฏิบัติ ชาวพุทธจะปฏิบัติตนตาม
      ธรรมะ คือ ศีล
5 พรหมวิหาร 4 และเมตตาธรรม
6.
   การทำความดี ถือว่าเป็นความสุข การทำความดีโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนจะทำให้จิตใจ
       เบิกบาน

7.    เมื่อมีคนติติง ก็อย่าโกรธ เพราะว่าคำตินั้นมีประโยชน์มากกว่าคำชม
8.    คนมีเสน่ห์จะแสดงความเคารพนับถือ ครู อาจารย์ วิทยากร ถึงแม้จะมีอายุน้อยกว่าก็ตาม
9.
   ให้ความสนใจกับคำเชิญไปงานต่างๆ เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่เคารพ หากไปไม่ได้
       จริงๆ ควรจะโทรศัพท์ไปขอโทษ และส่งของขวัญตามไปภายหลัง งานศพนั้นความไป
       เสมอ

10.    
คนมีเสน่ห์ ควรให้อภัย ไม่อาฆาตจองเวรคนที่ให้อภัยเป็นทานจะมีใบหน้ารอยยิ้ม อิ่มเอิบ
         ผุดผ่องเสมอ คนโกรธจะมีใบหน้าบึ้งตึงไร้เสน่ห์
           
        บุคลิกภาพของคนที่มีเสน่ห์นั้น มีมากมายหากแสดงออกได้อย่างเหมาะสมแล้วย่อมเป็นผู้ที่น่าคบหา เข้าใกล้ใครใครก็รัก ใคร่เอ็นดู เพราะประพฤติตนอยู่บนพื้นฐานของความพอดี เหมาะสมตามเหตุและปัจจัยอันควร ซึ่งเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จของทุกสาขาวิชาชีพ  ประการสำคัญการที่จะกลายเป็นคนมีเสน่ห์ได้นั้น การประพฤติ  อย่างที่กล่าวมาผู้ฝึกฝนต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และ เท่าเทียม เพื่อเพิ่มพูนเสน่ห์ให้กับตนเอง

         



การพัฒนาตนเองและสังคมโดยใช้ปรัชญา

การพัฒนาตนเองหมายถึงการสร้างความสามารถของคุณเองให้มีมากขึ้นและการพัฒนาความสามารถ ที่ยังไม่ได้พัฒนาของคุณเองด้วยโดยเหตุที่มนุษย์เรามีความ ต้องการที่จะให้ตนเองเจริญก้าวหน้า (ความต้องการความเจริญก้าวหน้าส่วนตัว   และการรับรู้ศักยภาพของตนเอง)ดังนั้นทุกคนจึงต้องพยายามพัฒนาตนเองเพื่อให้มีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
การพัฒนาตนเอง (SELF DEVELOPMENT)
คนเราถ้าจะเก่งต้องประกอบด้วย 3 เก่งคือ
เก่งตน (Self Ability)หมายถึง เป็นผู้ที่ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันโลกทันคนโดยเริ่มจากการพัฒนาตนเองก่อน การพัฒนาตนเองนั้นพัฒนาได้ ๓ ทางคือ
ทางกายองค์ประกอบที่สำคัญคือ รูปร่างพัฒนาให้ดีขึ้นโดยใช้การแต่งกายช่วยลดจุดด้อยหรือเสริมจุดเด่น หน้าตาสดชื่นแจ่มใสสะอาดหมดจด อากัปกิริยา การแสดงออกเข้มแข็งแต่ไม่แข็งกระด้าง อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอการยืน การเดิน การนั่ง ต้องมั่นคง เรียบร้อยการแต่งกายต้องสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะ เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณ
ทางวาจาการพูดดีต้องมีองค์ประกอบ ๔ ประการคือ  พูดแต่ดี  มีประโยชน์ ผู้ฟังชอบ และทุกคนปลอดภัย   ก่อนพูดทุกครั้งต้องคิดก่อนพูด  คนที่พูดดี  มีปิยะวาจาเป็นลมปากที่หวานหูไม่รู้หาย เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุก ๆ ฝ่ายที่ได้ยินได้ฟัง
ทางใจการพัฒนาทางใจก็มีองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความมั่นใจถ้ามีความมั่นใจในตนเอง จะทำอะไรก็สำเร็จ ความจริงใจ  คือ  เป็นคนปากกับใจตรงกันความกระตือรือร้น  กระฉับกระเฉง   แจ่มใส มีชีวิตชีวาความมานะพยายามไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ความซื่อสัตย์สุจริต ความสุขใจ ความอดกลั้นความมีเหตุผล การมีสมรรถภาพในการจำและมีความคิดสร้างสรรค์
เก่งคน (Self Ability)หมายถึงมีความสามารถที่จะทำตัวให้เข้าไหนเข้าได้   เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุกฝ่าย มีมนุษยสัมพันธ์ในครอบครัว   พ่อแม่ควรรู้หลักจิตวิทยาในการปกครองลูก ให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูก ลูกก็ไม่ทำตนให้เป็นปัญหาให้พ่อแม่ และมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานสามารถทำตนให้เข้ากับคนได้กับทุกคน หากมีผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาก็รักหากมีลูกน้อง ลูกน้องก็รัก เพื่อนร่วมงานก็รัก บุคคลภายนอกหรือลูกค้าก็รักซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองและธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง
เก่งงาน (Task Ability)หมายถึง ผู้ที่รักงาน ขยันทำงาน และรู้วิธีทำงาน มีความขยันหมั่นเพียร มานะ อดทนไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค
ที่มา :กลุ่มบริหารทั่วไปสำนักบริหารกลางสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ในอดีตที่ผ่านมาองค์กรมักจะมุ่งเน้นการพัฒนาคนที่เปลือกนอกคือมุ่งเน้นที่การพัฒนา    องค์ความรู้ (Knowledge)”   ทักษะ(Skill)”   หรือ พฤติกรรม (Behavior)”   มากกว่าการพัฒนาที่แก่นแท้ของคนซึ่งหมายถึง ทัศนคติ(Attitude)” “แรงจูงใจ(Motivation)” หรือ อุปนิสัย(Trait)” จึงทำให้การพัฒนาบุคลากรไม่ได้ผลเท่าที่ควร
การพัฒนาคนในหลายองค์กรมักจะมุ่งเน้นผลการพัฒนาระยะสั้นมากกว่าระยะยาวดังนั้น รูปแบบการพัฒนาและฝึกอบรมจึงออกมาในลักษณะของการพัฒนาความรู้ ทักษะและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอกเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถเห็นผลได้ทันที เช่นการฝึกอบรมเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ต อาจจะใช้เวลาเพียงวันเดียวจากคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตไม่เป็นก็สามารถใช้เป็นได้ แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือเราไม่ค่อยพัฒนาคนให้ยอมรับว่าอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์กับชีวิตอย่างไรบางคนถึงแม้จะใช้อินเตอร์เน็ตเป็น แต่รู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์มากนัก เลยไม่ได้ใช้ดังนั้น ทักษะที่เรียนรู้ไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร
เราจะเห็นการพัฒนาคนจากเปลือกนอก ได้ชัดเจนมากจากมินิมาร์ท  ปั๊มน้ำมันหรือห้างสรรพสินค้า ที่พนักงานของเขาทักทายหรือขอบคุณเราด้วยคำว่าสวัสดี  หรือ  ขอบคุณแต่เราสามารถสัมผัสได้ว่าคำพูดหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นไม่ใช่มาจากส่วนลึกของจิตใจแต่เป็นเพียงพฤติกรรมที่ถูกฝึกมาและถูกบังคับให้ทำตามเงื่อนไขมากกว่า เช่นถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งให้พูดคำว่า สวัสดีถ้าพนักงานคนนั้นถูกพัฒนามาจากภายในแล้วไม่ว่าเขาจะทำงานหรืออยู่ในสังคมภายนอกการทักทายหรือการขอบคุณนั้นจะต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลาและคำพูดนั้นจะต้องออกมาจากภายใน
แนวโน้มการพัฒนาคนในอนาคตผมมีความเชื่อมั่นว่าจะต้องเปลี่ยนจากการพัฒนาความรู้ทักษะ และพฤติกรรม ไปสู่การพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจและอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้เอง พัฒนาทักษะด้วยตัวเองรวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามทัศนคติที่เปลี่ยนไปองค์กรทุกองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเจาะเข้าไปพัฒนาที่จิตใจของคนมากขึ้นองค์กรต้องหวังผลการพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพราะถ้าเราประสบความสำเร็จในการพัฒนาภายในจิตใจของคนแล้วการพัฒนาสิ่งที่อยู่ภายนอกไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
แนวทางหนึ่งที่กำลังมาแรงแซงทางโค้งในปัจจุบันคือ การพัฒนาตนเอง (Self-Development) เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นการพัฒนาจิตใจเพื่อสร้างแรงจูงใจในชีวิตของคนก่อนเป็นอันดับแรกซึ่งคนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในการพัฒนาแบบนี้คือ ตัวพนักงานแต่อย่าลืมว่าถ้าพนักงานมีแรงจูงใจในชีวิตแล้วผู้ที่ได้รับประโยชน์ในลำดับต่อมาก็หนีไม่พ้นตัวองค์กร
การพัฒนาแนวทางนี้จะเน้นการค้นหาตัวเองการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง การกำหนดเป้าหมายในชีวิตการกำหนดแนวทางไปสู่เป้าหมาย รวมถึงการจัดทำแผนการดำเนินชีวิตที่เป็นรูปธรรมพูดง่ายๆคือ สอนคนให้บริหารธุรกิจชีวิตของตัวเองก่อนนั่นเองย่อมเป็นที่แน่นอนว่าถ้าคนมีแผนการบริหารชีวิตที่ดีแล้วคนเหล่านั้นย่อมสามารถเชื่อมโยงเป้าหมายชีวิตเข้าสู่เป้าหมายในการทำงานขององค์กรได้ไม่ยากนักนอกจากนี้ ถ้าคนสามารถบริหารชีวิตตัวเองได้การบริหารคนบริหารงานก็ไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป
การพัฒนาแนวทางใหม่นี้องค์กรจำเป็นต้องเปิดใจกว้างให้มากขึ้นอย่าคิดว่าต้องพัฒนาฝึกอบรมคนเฉพาะหลักสูตรที่เป็นประโยชน์กับองค์กรเพียงอย่างเดียวลองคิดทบทวนดูให้ดีนะครับว่าอดีตที่ผ่านมาเราคิดแบบนี้ แล้วการพัฒนามันได้ผลหรือไม่ถ้าตอบว่าไม่ ทำไมไม่ลองพัฒนาในแนวทางใหม่ดูบ้างละครับ
การที่องค์กรส่งเสริมให้พนักงานมีการพัฒนาชีวิตตัวเองก่อนนั้นนอกจากจะทำให้คนเกิดแรงจูงใจในการทำงานแล้วสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่องค์กรจะได้รับคือได้รับรู้ว่าคนแต่ละคนมีเป้าหมายในชีวิตเป็นอย่างไรมีอะไรบ้างที่องค์กรสนับสนุนให้เขาเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ลองพิจารณาดูนะครับว่าถ้าพนักงานต้องการปิดบังไม่ให้องค์กรรู้ว่าตัวเองมีเป้าหมายชีวิตของตัวเองเพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงานในขณะเดียวกันองค์กรก็พยายามกีดกันคนที่มีเป้าหมายในชีวิตของตัวเองที่ชัดเจน เช่นถ้าองค์กรรู้ว่าคนไหนมีแผนในชีวิตที่จะออกไปทำธุรกิจส่วนตัวก็มักจะไม่โปรโมทหรือไม่ค่อยส่งไปเรียนรู้อะไรใหม่ๆถ้าเป็นเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าองค์กรเสียหายสองต่อคือนอกจากจะกีดกันคนที่มีแรงจูงใจในชีวิตแล้วในขณะเดียวกันก็เกิดความสูญเปล่าในการพัฒนาคนที่จงรักภักดีกับองค์กรแต่ขาดแรงจูงใจในชีวิต
องค์กรส่วนใหญ่มักจะมองว่าใครยังไม่มีแผนชีวิต (หรือมีแต่ไม่รู้)ที่จะออกไปจากองค์กรองค์กรมักจะมองว่าคนๆนั้นเป็นทรัพยากรที่มีค่าน่าจะดูแลรักษามากกว่าคนที่มีแผนชีวิตที่ชัดเจนผมจึงอยากให้คิดทบทวนดูใหม่ว่าการพัฒนาองค์กรไม่ได้อยู่ที่ว่าคนๆนั้นจะอยู่กับองค์กรนานหรือไม่แต่อยู่ที่ในระยะเวลาที่เขาอยู่กับองค์กรเขาได้สร้างคุณค่าให้กับองค์กรมากน้อยเพียงใดเราจะเห็นว่าคนหลายคนที่ออกจากเราไปทำธุรกิจของตัวเองถ้ามองย้อนหลังกลับไปจะเห็นว่าคนเหล่านี้ได้ทุ่มเทและสร้างสรรค์ให้กับองค์กรอย่างคุ้มค่าเผลอๆอาจจะสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้มากกว่าคนที่อยู่นานก็ได้
ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่าคนที่ทำงานเก่งและทำงานดีในองค์กรนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คนๆนั้นมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนและมีแรงจูงใจในชีวิตที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน(Internal Drive) ไม่ใช่แรงจูงใจภายนอก (External Drive) ใครก็ตามที่ทำงานเพราะมีแรงจูงใจจากภายนอก คนๆนั้นโอกาสเปลี่ยนแปลงมีมาก เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ชีวิตได้เติมเต็มในสิ่งที่ต้องการแล้วแรงจูงใจจะลดน้อยลงหรือหายไป แต่คนใดมีแรงจูงใจที่เกิดจากภายในแล้วนอกจากจะไม่ลดไปตามการเติมเต็มของชีวิตแล้ว มันกลับจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเพราะเขาจะตั้งเป้าหมายชีวิตที่ท้าทายมากยิ่งขึ้นและผมเชื่ออีกว่าความท้าทายในชีวิตอย่างหนึ่งของคนคือ การทำงานเพราะการทำงานถือเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่งที่เขาต้องการประสบความสำเร็จ
สรุป การพัฒนาคนแบบ Inside Out Approach จึงเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาคนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาจากภายใน (ทัศนคติ แรงจูงใจ อุปนิสัย) สู่การพัฒนาภายนอก (ความรู้ ทักษะ พฤติกรรม)เพราะถ้าเราสามารถพัฒนาสิ่งที่อยู่ภายในใจของคนได้แล้ว การพัฒนาความรู้ ทักษะและพฤติกรรมของคนก็สามารถทำได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน