วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เสน่ห์ทางวาจา

เป็นเสน่ห์ที่มีพลังฝ่าย ประทับมากกว่าอย่างอื่น เช่นฟังใครพูดแล้วติดหูมิรู้ลืม ราวกับพลังเสียงและสำเนียงพูดบุกรุกเข้ามาฝังตัวและกลอกกลิ้งอยู่ในแก้วหูคน ฟังได้


เสน่ห์ทางวาจาจะแผลงฤทธิ์ เต็มที่ต่อเมื่อผู้พูดมีโอกาสฉายไม้เด็ดสักประโยคสองประโยค การโอภาปราศรัยทักทายเพียงคำสองคำอาจจะยังไม่ได้ผลนัก แต่หากได้ช่องสำแดงเดชเต็มกำลัง เสน่ห์ทางวาจาก็อาจจชวนให้หวนคิดถึงได้ยิ่งกว่าเสน่ห์ทางกายมาก เนื่องจากความทรงจำเกี่ยวกับส่ำเสียงและถ้อยคำจะยืนยาวกว่าความทรงจำเกี่ยว กับรูปลักษณ์


เสน่ห์ทางวาจาที่หยิบยกมา เป็นตัวอย่างเห็นภาพง่ายที่สุดคงได้แก่วิธีรบเร้าหรือวิธีตื้อของแต่ละคน บางคนตื้อแล้วน่ารัก แต่หลายคนตื้อแล้วน่ารำคาญ ทั้งที่ก็เป็นการรบกวนผู้ฟังเหมือนๆกัน นี่ก็เพราะบางคนเท่านั้นที่มีพลังเสน่ห์ทางวาจา ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่มี


เสน่ห์ทางวาจามีองค์ ประกอบหลายส่วน ซึ่งแต่ละส่วนก็เกิดจากกรรมเกี่ยวกับวาจาทั้งในอดีตและปัจจุบันรวมกันทั้ง สิ้น องค์ประกอบหลักของเสน่ห์ทางวาจาจำแนกได้เป็น ๓ ส่วนดังนี้


๑) ความไพเราะของแก้วเสียง เกิดขึ้นจากความเป็นผู้มีวาจาสุจริตทั้งพูดเรื่องจริงเท่าที่ควรพูด เลือกคำที่ฟังรื่นหูไม่หยาบคาย หาวิธีพูดประนีประนอมไม่เสียดสีใคร ตลอดจนครองสติในการพูดเพื่อประโยชน์ได้เสมอ องค์ประกอบหลักเหล่านี้จะปรุงแต่งแก้วเสียงให้ฟังดี ฟังเย็นและฟังมีพลังสะกด ถ้ายิ่งหมั่นสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ ตลอดจนเปล่งเสียงประกาศธรรมอันชอบโดยไม่เคอะเขิน


๒) ลูกเล่นในการจำนรรจา เกิด ขึ้นจากความเป็นผู้ใส่ใจเจรจาให้น่าเอ็นดู เป็นที่ถูกใจ ทำความบันเทิงสดใสแก่ผู้ฟัง ยกตัวอย่างเช่นพวกชอบเล่านิทานให้เด็กฟัง ด้วยความหวังว่าเด็กจะได้สนุกสนาน ได้ข้อคิด และได้มองโลกในแง่ดีมีความอบอุ่น กรรมอันเกิดจากการฝึกเล่านิทานจริงจังจะบันดาลให้เกิดสัญชาติญาณในการมัดใจ ด้วยลีลาพูด คือรู้เองว่าด้วยลูกเล่นการออกเสียงสั้นยาว ลงเสียงหนักเบา ตลอดจนควบกล้ำอย่างไรให้ฟังน่ารักน่าใคร่ ชัดถ้อยชัดคำ พวกนี้ถ้าทำงานพากย์จะประสบความสำเร็จง่ายมาก และอาจจะไม่ต้องร่ำเรียนที่ไหนก็เก่งได้ยิ่งกว่ามืออาชีพที่คร่ำหวอดมานมนาน


๓) ความฉลาดเลือกคำ เกิดขึ้นจากความเป็นผู้คิดก่อนพูด ใช้สติในการง้างปากที่อ้ายาก ไม่ใช่ปล่อยให้อารมณ์บงการปากที่ไร้หูรูด ธรรมชาติของสตินั้น ยิ่งฝึกฝนให้เพิ่มมากขึ้นเท่าใด ปัญญาก็ยิ่งทวีขึ้นเท่านั้น


คนที่ไม่ค่อยใส่ใจกับการ พูดนั้น นอกจากจะขาดเสน่ห์ทางวาจาแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดข้อน่ารังเกียจได้มากมาย เช่นคนพูดส่อเสียดและใส่ไคล้ผู้อื่นบ่อยๆ มักมีกลิ่นปากเหม็นเน่า คนติดพูดคำหยาบคายกระโชกโฮกฮากมักมีสำเนียงเสียงไม่รื่นหูไม่ชวนฟังเป็นต้น


ที่มา
http://www.tangboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5359926
http://board.palungjit.com/










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น